รู้จักชมพูทวีป

ทำความรู้จักกับ ชมพูทวีป

ชมพูทวีป คนไทยรู้จักกันว่ามันตั้งอยู่ที่ประเทศอินเดีย มีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาโดยตรง รวมทั้งเป็นแหล่งอารยธรรมมากมาย หากอยากจะเข้าใจพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งปราชญ์โบราณแจ้งไว้ว่าต้องรู้จักและเข้าใจชมพูทวีปเสียก่อน 

ชมพูทวีปไม่ได้แปลตามตัวอักษรไทยว่าแผ่นดินสีชมพู แต่ในความหมายของคนโบราณระบุไว้ว่า ชมพูคือชื่อเรียกของต้นหว้า ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำทวีปนี้ สันนิษฐานว่าในยุคสมัยโน้นแผ่นดินแถบนั้นคงมีต้นหว้าเยอะมาก  จึงเป็นที่มาของชื่อชมพูทวีป คือแผ่นดินที่มีต้นหว้ามากมาย บางตำราก็ว่ามีต้นหว้าขนาดใหญ่สูงร่วม 100 โยชน์ แต่ละกิ่งยาว 50 โยชน์ ซึ่งคำว่า 1 โยชน์ถ้าเทียบหน่วยวัดแล้วก็จะยาวมากถึง 16 กิโลเมตรทีเดียว แต่ผู้เขียนวิเคราะห์และเชื่อเอาเองตามผู้แปลบางท่านที่บอกว่าเป็นแผ่นดินที่อุดมไปด้วยต้นหว้ามากมายซึ่งน่าจะเป็นไปได้มากกว่า แต่ก็ไม่ได้ขอชี้ชัดว่ามันจะเป็นไปตามนั้น ต้องให้ผู้อ่านวิเคราะห์และใช้ปัญญาพิจารณาไปด้วยกัน ตามหลักการใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนก่อนจะเชื่ออะไรตามใครที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้

ชมพูทวีป  ครอบคลุมดินแดนของประเทศอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถานและภูฏานในปัจจุบัน ในสมัยโบราณชมพูทวีปเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมืองที่เรียกว่าดราวิเดียน เมื่อประมาณ 800  ปีก่อนพุทธกาล พวกชนเผ่าอารยันซึ่งเป็นคนผิวขาวได้อพยพมาจากแถบภูเขาหิมาลัยเข้ามายึดครองทางตอนเหนือที่อุดมสมบูรณ์ของชมพูทวีปและได้ไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปอยู่ทางใต้และตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคา 

เมื่อพวกอารยันเข้าไปยึดครองชมพูทวีป  ได้เรียกชนพื้นเมืองดราวิเดียนว่า ทัสยุหรือทาส ,  มิลักขะหรือผู้เศร้าหมอง ผู้มีผิวสีดำ หรืออนาริยกะแปลว่าผู้ไม่เจริญ  และเรียกตัวเองว่าอารยันหรืออริยกะ  ที่แปลว่าผู้เจริญ  

การเมืองของชมพูทวีปในสมัยก่อนพุทธกาล   แบ่งการปกครองออกเป็น 2 เขตใหญ่ๆ  คือ

ชมพูทวีปในสมัยก่อนพุทธกาล มีพระนครหรือแคว้นต่างๆ รวม 21 แคว้น มีพระนครขนาดใหญ่เรียกว่ามหาชนบท 16 แคว้น แคว้นที่สำคัญๆ ได้แก่ แคว้นมคธหรือรัฐพิหารในปัจจุบัน , แคว้นกาสีมีเมืองหลวงชื่อพาราณสีหรือวาราณสีในปัจจุบัน เป็นต้น  และมีแคว้นหรือนครขนาดเล็ก 5 แคว้น ที่สำคัญได้แก่ แคว้นสักกะมีเมืองหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองของประเทศเนปาล

รูปแบบการปกครองของแคว้นต่างๆ มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป บางแคว้นปกครองในลักษณะสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บางแคว้นเป็นแบบคณาธิปไตยหรือการปกครองที่ถือคณะเป็นใหญ่ บางแคว้นเป็นแบบสามัคคีธรรมหรือคล้ายกับระบอบสาธารณรัฐในปัจจุบัน คนในยุคนั้นส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ มีการแบ่งลำดับชั้นของคนในสังคมโดยถือเอาอาชีพและหน้าที่การงานเป็นหลักเป็น 4 วรรณะ ได้แก่ วรรณะกษัตริย์, พราหมณ์, แพศย์ และศูทร โดยชนชั้นที่มีวรรณะสูงกว่าจะรังเกียจและดูหมิ่นพวกที่มีวรรณะต่ำกว่า โดยฌแพาะถ้าหากเกิดมีการสมสู่กับคนต่างวรรณะแล้วลูกที่เกิดมาจะถูกเรียกว่าจัณฑาลถูกดูถูกเหยียดหยามมาก

คนในชมพูทวีปยุคก่อนพุทธกาลมีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย แบ่งเป็น 2 พวกด้วยกันคือ

ลุมพินีวัน

ต้นพระศรีมหาโพธิ์

ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

สาลวโนทยาน

 ขอเชิญชวนร่วมเดินทางไปแสวงบุญในดินแดนพุทธภูมิ ณ  ชมพูทวีป  ประเทศอินเดียและเนปาล รวม 8 วัน 7 คืน   นำชมและสักการะ สังเวชนียสถานทั้ง 4    ที่พุทธบริษัททั้ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา ผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าควรจะดูควรจะเห็น และควรให้เกิดความสังเวช ผู้ที่ไปดูสังเวชนียสถานทั้ง 4 ด้วยความเลื่อมใส เชื่อว่าเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติในโลกสวรรค์  และนำชมและสักการะสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาในแผ่นดินชมพูทวีป  

กำหนดการเดินทางไปแสวงบุญที่ชมพูทวีปประเทศอินเดียและเนปาล ในระหว่างวันที่ 10-17  ธันวาคม 2565  โดยกำหนดการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์(โควิด-19) และมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณท่านละสามหมื่นบาทเศษ โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามจำนวนผู้เดินทางและค่าบริการของสายการบิน หากท่านใดมีความประสงค์ร่วมเดินทาง สามารถติดต่อสอบถามและจองที่นั่ง ได้ที่เบอร์โทร. 0846259929  หรือLine ID เบอร์โทร. 0846259929